top of page
A%20sensual%20and%20lovely%20image%20of%

เสริมหน้าอกร่วมกับการกระชับหน้าอก

Breast Augmentation With Breast Lift

ในผู้ที่มีปัญหาหน้าอกเล็กร่วมกับหน้าอกหย่อนคล้อย อาจพิจารณาเสริมหน้าอกพร้อมกับการกระชับหน้าอกไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อนกว่าการผ่าตัดเสริมหน้าอกหรือกระชับหน้าอกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็จะเป็นการรวมประเด็นต่างๆ ของการเสริมและการกระชับเข้าด้วยกัน

 

การลงแผลผ่าตัดสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบเช่นเดียวกับการผ่าตัดกระชับหน้าอก ได้แก่ แผลรอบปานนม แผลรูปอมยิ้ม และแผลรูปสมอ โดยพิจารณาจากระดับความหย่อนคล้อยของหน้าอก

 

ในส่วนของซิลิโคน รูปทรง, ความสูงและพื้นผิว ใช้การพิจารณาเช่นเดียวกับการเสริมหน้าอก ผู้เข้ารับการผ่าตัดควรศึกษาข้อดีและข้อเสียก่อนเลือกซิลิโคนที่จะใช้
 

ผู้ที่เหมาะกับการผ่าตัด 

ผู้ที่มีปัญหาหน้าอกเล็กและหย่อนคล้อย

 

รายละเอียดการผ่าตัด

เมื่อทำการดมยาสลบ แพทย์จะทำการลงแผลตามที่วาดไว้ขึ้นกับระดับความหย่อนคล้อย จากนั้นทำการตัดผิวหนังที่หย่อนคล้อยออก และในผู้เข้ารับการผ่าตัดบางรายแพทย์อาจพิจารณาตัดเนื้อนมออกบางส่วนด้วย หลังจากนั้นจึงกำหนดระดับของปานนมและรูปทรงเต้านมใหม่ให้เหมาะสม  ทำการเลาะโพรงเพื่อใส่ซิลิโคน หยุดเลือดให้สนิท ใส่ซิลิโคน ใส่สายระบายเลือดและทำการเย็บแผลปิด

 

การดูแลรักษาหลังผ่าตัด

  1. เช็ดทำความสะอาดแผลทุกวัน ห้ามแผลโดนนํ้าจนถึงวันตัดไหม

  2. ใส่สายระบายเลือดไว้ 1-2 วัน

  3. ใส่ที่รัดหน้าอกหรือ sport bra วันรุ่งขึ้นหลังผ่าตัดและใส่ต่อเนื่องจนครบ 2 เดือน

  4. ตัดไหมหลังจากผ่าตัด 14 วัน หลังตัดไหมสามารถโดนนํ้าได้

  5. หน้าอกจะค่อยๆ เข้าที่ภายในระยะเวลา 6 เดือน

  6. แผลอาจเห็นได้ชัดในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นจะค่อยๆ จางไปภายใน 1 ปี

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้

  • มีเลือดออกบริเวณใต้แผลผ่าตัด หากมีปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขเพื่อหยุดเลือด

  • แผลเป็น ในบางคนอาจพบแผลเป็นนูนได้ สามารถจะแก้ไขด้วยการฉีดสเตียรอยด์ที่บริเวณแผลเป็นนูน

  • หัวนมชา โดยส่วนใหญ่จะค่อยๆ ดีขึ้นภายในระยะเวลา 1 ปี 

  • ในผู้เข้ารับการผ่าตัดบางรายสามารถพบการกลับเป็นซํ้าได้ (Recurrent Ptosis)

  • การคลำได้ขอบซิลิโคน มักพบในกลุ่มที่ใช้ซิลิโคนผิวทรายและซิลิโคนขนาดใหญ่เกินไป หากต้องการแก้ไขต้องผ่าตัดลดขนาดของซิลิโคนลงและเปลี่ยนเป็นซิลิโคนผิวเรียบจะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง

  • ผิวซิลิโคนรั่ว/ปริแตก ในซิลิโคนรุ่นใหม่ๆ พบอัตราการเกิดปัญหานี้น้อยมาก ประมาณ 1% ต่อปี

  • พังผืดรัดนม มีหลายระดับ หากเป็นในระดับที่รุนแรงอาจมีอาการปวด หรือมีเต้านมผิดรูปได้ พิจารณาพบแพทย์เพื่อผ่าตัดแก้ไข

  • มะเร็งของต่อมนํ้าเหลือง (ALCL) พบได้เช่นเดียวกับการผ่าตัดเสริมหน้าอก

bottom of page